ถาม-ตอบ

ถาม-ตอบ ทั้งหมด 6 รายการ

แนวทางการดำเนินงานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามมติที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ ระหว่างปี ปี 61-65

แนวทางการดำเนินงานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามมติที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ ระหว่างปี ปี 61-65

 

(ครั้งที่ 2-1/2561 วันที่ 5 มีนาคม 2561)

ในกรณีที่มีการ Turn Around ในอุตสาหกรรมประเภทปิโตรเคมี ซึ่งมีรอบการ Turn Around ใหญ่ ในทุกๆ 3 ปี ในการประเมิน CFO จะต้องดำเนินการอย่างไร

มติที่ประชุม:ถ้าเป็นปีที่มีการ Turn Around ก็ให้ทำการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปตามจริง แต่จะใช้ปีนั้นๆเป็นปีฐานไม่ได้

 

(ครั้งที่ 3-2/2561 วันที่ 11 พฤษภาคม 2561)

แนวทางการประเมินข้อมูลกิจกรรมแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสําหรับการคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรกรณีโรงงานประสบเหตุการณ์ไฟไหม้

มติที่ประชุม : ให้พิจารณาการปล่อยก้าซเรือนกระจกในส่วนของวัตถุดิบ,ผลิตภัณฑ์และวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆที่ได้รับความเสียหายเท่านั้นโดยไม่นับรวมในส่วนของโครงสร้างอาคารและเครื่องจักร(Infrastructure)ที่ได้รับความเสียหายทั้งนี้หลักฐานที่ใช้ในการอ้างอิงในกระบวนการทวนสอบสามารถใช้หลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นรายงานสรุปความเสียหายจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ใช้ในการส่งประกันเป็นต้น แต่องค์กรที่ทําการประเมินต้องพิจารณาปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory) ร่วมด้วยสําหรับการรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรนั้นให้รายงานร่วมในขอบเขตที่ 1 (Scope1) แต่แสดงผลแยกและระบุเป็นการปล่อยก้าซเรือนกระจกจากเหตุการณ์ไฟไหม้ โดยในใบcertificate จะแสดงผลแยกออกจากขอบเขตที่ 1 และระบุว่าเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเหตุการณ์ไฟไหม้ ในกรณี่ที่การเผาไหม้วัตถุดิบ,ผลิตภัณฑ์และวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆเป็นไบโอจินิคคาร์บอนให้รายงานแยกออกมาตามแนวทางเดิมแต่ระบุว่ามาจากเหตุการณ์ไฟไหม้

หมายเหตุ : รายการที่นํามาคํานวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมไฟไหม้อาจจะเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ในการคํานวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรให้คิดเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ตามหลักConservativeness

 

(ครั้งที่ 4-3/2561วันที่ 19 มิถุนายน 2561)

กรณีระบบบัดน้ำเสียเป็นแบบเติมอากาศ มีค่า COD น้ำออกจากระบบ น้อยกว่า 120 mg/l แต่บ่อมีความลึกมากกว่า 10 เมตร และปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ณ ผิวน้ำมีค่าเท่ากับ 0.01 mg/l ในบางครั้ง ทั้งนี้ มีแนวทางในการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไร

มติที่ประชุม: คำนวนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นแบบ worst case โดยคำนวณแบบบ่อบำบัดลึกแบบเติมอากาศ มีความลึกมากกว่า 2 เมตร

 

(ครั้งที่ 5-4/2561วันที่ 22 สิงหาคม 2561)

กรณีบริษัท/องค์กรมีโรงงานหลายสาขาในขั้นตอนการรับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรจำเป็นต้องระบุสาขาที่ขอขึ้นทะเบียนให้ชัดเจนหรือไม่

มติที่ประชุม: บริษัท ที่รับรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กรณีมีหลายสาขาต้องทำการระบุสาขาที่ขอรับรองให้ชัดเจน

 

(ครั้งที่ 2/2562 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562)

กรณีที่โรงงานมีการซื้อน้ำเย็นจากหน่วยงานภายนอก เพื่อนำมาใช้แลกเปลี่ยนความร้อนภายในโรงงาน กรณีเช่นนี้ ควรกำหนดขอบเขตของกิจกรรมดังกล่าวเป็นประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ 3

มติที่ประชุม:มีข้อเสนอแนะร่วมกันว่าการกำหนดขอบเขตของการซื้อน้ำเย็นจากภายนอกมาใช้งาน อาจพิจารณาว่าหากอยู่ในรูปของพลังงานหรือซื้อขายอยู่ในหน่วยของความเย็น สามารถกำหนดให้อยู่ในขอบเขตที่ 2 แต่หากเป็นการซื้อขายในหน่วยของปริมาณน้ำเย็น อาจกำหนดให้อยู่ในขอบเขตที่ 3

การทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์งานอีเว้นท์ เช่น จัดประชุม หรือสัมมนา เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันและไม่ซับซ้อน จึงอาจไม่จำเป็นต้องมีการลงพื้นที่สำรวจหน้างาน โดยอาจใช้รูปถ่ายการจัดประชุมเป็นหลักฐานยืนยันได้ แต่หากเป็นกรณีงานอีเว้นท์ที่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ทวนสอบสามารถลงพื้นที่เพื่อสำรวจหน้างานได้ (หากมีข้อสงสัย)

 

(ครั้งที่ 3/2562 วันที่ 29 เมษายน 2562)

กรณีองค์กรซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนมาใช้งาน และผู้ผลิตเอกชนไม่มีการคำนวณค่า Emission Factor แบบ Gate to Gate สามารถใช้ค่า Emission Factor ไฟฟ้าแบบ grid Mix ของประเทศไทยได้ โดยจะต้องขอหลักฐานจากผู้ผลิตเอกชนดังกล่าวมาอ้างอิง ว่าไม่มีการคำนวณค่า Emission Factor ไว้

โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตก๊าซออกซิเจน, ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซอาร์กอน โดยใช้อากาศจากบรรยากาศเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต โดยจะทำการดึงอากาศเข้าสู่กระบวนการผลิตและทำการแยกก๊าซที่ต้องการออกมา (ไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอน) หลังจากนั้นก๊าซส่วนที่เหลือจะถูกปล่อยคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งก๊าซส่วนที่ปล่อยคืน (ไม่มีการตรวจวัดองค์ประกอบ) จะมีก๊าซ COปนอยู่ด้วย แต่จะเป็นก๊าซ CO2ที่มีอยู่ในอากาศเดิมอยู่แล้ว ทั้งนี้ สามารถไม่นับรวมก๊าซ CO2ส่วนนี้เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นก๊าซ CO2ส่วนที่มีอยู่ในบรรยากาศเดิมอยู่แล้ว ซึ่งต่างจากกรณีโรงแยกก๊าซ ที่เป็นก๊าซ CO2ที่อยู่ในเนื้อก๊าซที่ขุดเจาะขึ้นมาใช้

มติที่ประชุม :ไม่นับรวม แต่ให้ระบุเป็นหมายเหตุในรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ข้อ 3.1.4 ว่าปริมาณก๊าซ CO2ที่มีอยู่ในอากาศที่ใช้เป็นวัตถุดิบเท่ากับปริมาณก๊าซ COที่ปล่อยออก

ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล มีการนำก๊าซ CO2ที่เกิดขึ้นไปใช้ในกระบวนการผลิตของบริษัทในเครือ ปริมาณ CO2นั้นไม่ต้องนำไปหักลบกับปริมาณก๊าซ CO2ที่รายงานแยกของ ไบโอจินิคคาร์บอน

 

(ครั้งที่ 4/2562 วันที่ 24 มิถุนายน2562)

การใช้ค่า Emission Factorสำหรับการเดินทางด้วยยานพาหนะ ในกรณีที่ได้ข้อมูลมาเป็นระยะทาง (km) ให้ใช้ค่าEmission Factorของประเทศไทยที่ อบก.จัดทำไว้ กรณีไม่ทราบชนิดของเชื้อเพลิง ให้ทำการตั้งสมมุติฐานเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีค่า Emission Factor สูงที่สุด ตามหลัก Conservative

 

(ครั้งที่ 5/2562 วันที่ 26 สิงหาคม 2562)

การจัดทำค่าEmission Factorของ Natural gas สามารถจัดทำในหน่วย mmbtuได้หรือไม่

มติที่ประชุม : อบก. จะทำการอัพเดตค่า Emission Factor ของ Natural gas โดยจะจัดทำในหน่วย TJ (คำนวณจากค่าความร้อนแบบ Low Heating Value)

 

(ครั้งที่ 3/2563 วันที่ 14 พฤษภาคม 2563)

การคำนวณค่า COD ของระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศซึ่งเป็นแบบต่อเนื่อง ให้คำนวณค่า COD Removal (ค่า CODinของบ่อที่ 1 ลบกับค่า CODout ของบ่อสุดท้าย) และนำไปคำนวณตามสูตร และขอให้ อบก. ปรับแก้คำศัพท์ของการคำนวณก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศในคู่มือจากคำว่า CODin เป็น CODremoval

ในระบบหม้อต้มไอน้ำ(Boiler)จะมี Deaerator ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับดึงก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำออกก่อนที่จะเข้าสู่ในBoiler เพราะหากมีน้ำที่มีก๊าซดังกล่าวละลายอยู่ จะทำให้เกิดการกัดกร่อนภายใน Boiler ได้ซึ่งก๊าซก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีการดึงออกจากน้ำมีนัยสำคัญน้อยมาก จึงมีการตัดออก (Cut off)

 

(ครั้งที่ 4/2563 วันที่ 24 มิถุนายน 2563)

เนื่องจากปัจจุบันมีการปัดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรแบบจำนวนเต็ม3แบบได้แก่1)ปัดด้วยโปรแกรมExcel2)ใช้หลักการปัดทศนิยมตามหลักมาตรฐาน มอก.923-2533และ3)ใช้สูตรRoundupโดย

1.ไฟล์คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Verification Sheet)โดยsheet FR-04ให้แสดงค่าเป็นจำนวนทศนิยม2ตำแหน่งไว้คงเดิม และsheet FR-05ให้แสดงค่าเป็นจำนวนเต็ม โดยใช้สูตรRoundupในscopeที่1 scopeที่2และscopeที่3โดยผลรวมของscopeที่1และ2เป็นผลรวมภายหลังจากการRoundupแต่ละscopeแล้ว

2.รายงานการทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และถ้อยแถลงการทวนสอบ ให้แสดงค่าเป็นจำนวนเต็ม โดยใช้ข้อมูลจากsheet FR-05

          ทั้งนี้ การแสดงค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามมติที่ประชุม นั้น ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมต่อไป

 

(ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 11 มีนาคม 2564)

สรุปแนวทางการประเมินแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ประเภทที่ 3)

มติที่ประชุม:

1) ให้ระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางของ Greenhouse gas Protocol หรือ

ISO 14064-1:2018

2) ขั้นตอนในการประเมินแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ประเภทที่ 3) สามารถดำเนินการดังต่อไปนี้

                   ขั้นตอนที่ 1 ให้ระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางGreenhouse gas Protocol หรือ ISO 14064-1:2018ในกรณีที่ไม่มีแหล่งปล่อยควรให้ใส่รายละเอียดกำกับไว้

                   ขั้นตอนที่ 2 องค์กรต้องพิจารณาเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญ 3 ประเด็นหลักดังต่อไปนี้

                   - ขนาด (Size or Magnitude)

                   - ศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก (Level of influence(Reduction potential))

                   - ความเสี่ยงหรือโอกาส (Risk or opportunity)

                   - มีข้อแนะนำที่เฉพาะเจาะจงสำหรับอุตสาหกรรม (Sector Guidance)

และองค์กรสามารถพิจารณาประเด็นเพิ่มเติมประกอบการคัดเลือกได้ดังนี้

                   - เป็นการจัดจ้างบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก (Outsourcing)

                   - เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee engagement)

          โดยองค์กรจะต้องจัดทำเงื่อนไขในการระบุวิธีการประเมินผลที่เหมาะสมกับองค์กร

                   ขั้นตอนที่ 3 องค์กรจะต้องจัดทำเงื่อนไขในการคัดเลือกการประเมินแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ประเภทที่ 3) จากประเด็นที่พิจารณาได้จากขั้นตอนที่ 2 เช่น องค์กรสามารถใช้วิธีการให้น้ำหนักในแต่ละประเด็น หรือ วิธีการอื่นๆ

                   ขั้นตอนที่ 4ประเมินข้อจำกัดในการได้มาซึ่งข้อมูล

                   - องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูล Activity data ได้หรือไม่ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ให้องค์กรวางแผนพัฒนาวิธีการเก็บข้อมูล Activity data

                   - องค์กรสามารถในการเข้าถึงข้อมูล Emission Factorได้หรือไม่ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ให้องค์กรวางแผนพัฒนาวิธีการเก็บข้อมูล Emission Factor ในปีถัดไป เช่น ของความร่วมมือ Supplier

 

(ครั้งที่ 3-3/2564 วันที่ 17 พฤษภาคม 2564)

การประเมินแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ประเภทที่ 3) โดยมีรายละเอียดดังนี้

Category 1 :Purchased goods and services

สามารถเก็บข้อมูลเฉพาะวัตถุดิบหลักที่มีนัยสำคัญมาใช้ในการคำนวนกิจกรรม Scope 3 ขององค์กร ได้หรือไม่ 

มติที่ประชุม: องค์กรสามารถใช้เฉพาะข้อมูลวัตถุดิบหลักที่มีนัยสำคัญมาคำนวณได้ เนื่องจากบางองค์กร

อาจมีการใช้วัตถุดิบหลายชนิดในกระบวนการผลิต ซึ่งวัตถุดิบบางตัวอาจมีการใช้ในปริมาณที่น้อยและไม่มีนัยสำคัญเมื่อพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งข้อมูลชนิดวัตถุดิบและปริมาณที่ใช้ยังถือเป็นความลับทางการค้าขององค์กร วัตถุดิบหลักรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่องค์ซื้อเข้ามาใช้บรรจุสินค้าที่องค์กรผลิตด้วย

สามารถใช้ข้อมูลการใช้วัตถุดิบ แทนข้อมูลการสั่งซื้อได้หรือไม่

มติที่ประชุม:ใช้ข้อมูลการสั่งซื้อวัตถุดิบในปีที่รายงานเท่านั้น

ในกรณีที่รายการวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่องค์กรนำมาประเมินกิจกรรม Scope 3ไม่มี Emission Factor ที่ใช้ในการคำนวณ สามารถเลือกใช้ค่าEmission Factor ของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใกล้เคียง ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon footprint of Product : CFP) ได้หรือไม่

มติที่ประชุม:สามารถใช้ได้

Category 2 :Capital goods

สินค้าประเภททุน (Capital goods) ที่องค์กรซื้อเข้ามาในปีที่รายงานค่า CFOเช่นอุปกรณ์เครื่องจักรอาคารระบบสนับสนุนและยานพาหนะ ฯลฯ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้าทุนดังกล่าว (ค่า Emission Factor ที่ใช้ในการคำนวณ) เบื้องต้นสามารถกำหนดเป็นแนวทางในการคำนวนกิจกรรม Scope 3 ว่าไม่ยังไม่พิจารณาได้หรือไม่ ทั้งนี้หากต้องพิจารณามีแนวทางดำเนินการอย่างไร

มติที่ประชุม:

1) ให้คงรายการสินค้าประเภททุน (Capital goods) ไว้ เนื่องจากอาจเป็นแรงกระตุ้นให้องค์กรที่ทำการประเมิน CFO มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือใช้เทคโนโลยี ต่างๆ ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ และอาจมีกิจกรรมบางกิจกรรมที่สามารถดำเนินการประเมินได้ เช่น การใช้วัสดุก่อสร้าง เหล็ก ทราย ปูนซีเมนต์ เป็นต้น

2)แนวทางการดำเนินงานระยะแรก (2564-2566) หากองค์กรไม่สามารถประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าประเภททุน (Capital goods) ได้ ให้ทำการชี้แจงเหตุผลประกอบ เช่น ไม่สามารถเก็บข้อมูลกิจกรรม, ไม่มีค่า Emission Factor ที่ใช้ในการคำนวน หรือ ไม่มีความจำเป็นต้องประเมิน เป็นต้น

Category 5 :Waste generated in operations

          ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมในองค์กร  (Waste generated in operations) มีแนวทางการประเมินกิจกรรมใน Scope 3 อย่างไร

          มติที่ประชุม: แนวทางการดำเนินงานระยะแรก (2564-2566) ให้พิจารณาเฉพาะการกำจัดของเสียโดยตรง เช่น การฝังกลบขยะ การเผากำจัดขยะ (Incineration)ไม่ต้องทำการพิจารณาของเสียที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น ของเสียที่สามารถเป็นวัตถุดิบให้กับองค์กรอื่นๆ , ของเสียที่นำไปเผาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง (Waste to Energy), ของเสียที่นำไปขายหรือ Recycle เป็นต้น

Category 15 :Investments

การร่วมลงทุน (Investments) องค์กรส่วนใหญ่ไม่สามารถประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรม Scope 3 ได้จะมีแนวทางในการดำเนินงานอย่างไร

มติที่ประชุม: แนวทางการดำเนินงานระยะแรก (2564-2566) หากองค์กรไม่สามารถประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการร่วมลงทุน (Investments) ให้ชี้แจงเหตุผลประกอบ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลกิจกรรมดังกล่าวได้ เป็นต้น

เบื้องต้นหากพิจารณาแล้วพบว่ากิจกรรมScope 3 ขององค์กร ในทุก Category มีนัยสำคัญน้อยมาก องค์กรสามารถไม่พิจารณาประเมินกิจกรรม Scope 3 ได้หรือไม่

มติที่ประชุม: ให้ทำการพิจารณาประเมินอย่างน้อย 1 Category ที่มีนัยสำคัญมากที่สุด      

กรณีที่มีการพิจารณากิจกรรมนั้นๆ มีนัยสำคัญมาก แต่ไม่สามารถหาข้อมูล (Activity Data) ได้ จะทำการประเมินอย่างไร

มติที่ประชุม:ให้องค์กรตั้งสมมุติฐาน หรือ สุ่มเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินเบื้องต้น และพัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูลในปีถัดไป

ในกรณีที่ประเมินนัยสำคัญแล้วพบว่า Category 1 มีนัยสำคัญมากที่สุด จำเป็นต้องประเมินทุกกิจกรรมของ Category นั้นหรือไม่

มติที่ประชุม : ขึ้นอยู่กับโรงงานว่าสามารถหาข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหน แต่ต้องประเมินกิจกรรมหลักที่มีนัยสำคัญเป็นลำดับแรกก่อน

เนื่องจากกิจกรรมใน Scope 3 ประเมินตามข้อกำหนด ISO 14064-1 หรือ GHG Protocol เป็นปีแรกและอยู่ในช่วงทดลองซึ่งคู่มือแนวทางการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรยังไม่ปรับตามข้อกำหนดดังกล่าว ทางหน่วยงานทวนสอบ จึงขอรับรองให้เฉพาะ Scope 1 และ Scope 2 ส่วน Scope 3 จะยังไม่รับรอง เพราะไม่มีความเชื่อมั่นในข้อมูลที่นำมาประเมิน แต่จะทวนสอบข้อมูลให้เท่าที่องค์กรประเมินมา ได้หรือไม่

มติที่ประชุม:ผู้ทวนสอบควรรับรองการประเมิน Scope 3 ที่มีนัยสำคัญและต้องพิจารณาข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณต้องมีความสมเหตุสมผลด้วย หากข้อมูลไม่สมเหตุสมผล ผู้ทวนสอบสามารถให้ FAR ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ทวนสอบ

 

(ครั้งที่ 4-4/2564 วันที่ 24 มิถุนายน 2564)

การกำหนด Materiality มีสองส่วนดังนี้

          1. Scope 1 + Scope 2 Materiality 5%

          2. Scope 3 Materiality 5% (ถ้า Materiality ต้องไม่เกิน 5% ผู้ทวนสอบต้องรับรองการปล่อย GHG ใน Scope 3)

ประเมิน Size or Magnitude การปล่อย GHG ใน Scope 3 เทียบกับ Scope 3 หรือ เทียบกับ Scope 1+2 หรือ เทียบกับ Scope 1+2+3 ขึ้นอยู่กับบริบทขององค์กรนั้นๆ

ความแตกต่าง GHG ใน Scope 3 ใน Category 3 Fuel-and energy relate activities และ Category 7 Employee commuting ในส่วนของ Category 7 จะคำนวณตั้งแต่การได้มาซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงและการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทางของพนักงาน

Category 1 Purchased goods and services สามารถใช้ยอดใช้ หรือ ตามยอดที่ซื้อเข้ามา ขึ้นอยู่กับบริบทขององค์กรนั้นๆ

การประเมิน Capital goods ให้ดูค่า Carbon Footprint ที่ติดตัวมาและดูค่าเสื่อมประกอบ

การทวนสอบ CFO ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ควรมีผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมนั้นๆ ร่วมอยู่ในทีมผู้ทวนสอบด้วย เนื่องจากจะได้ประเมินแหล่งปล่อย GHG ใน Scope 3 ที่มีนัยสำคัญครบถ้วน

การจัดทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน(Carbon Offset) กรณี Carbon Neutral ประเภทองค์กรต้องชดเชยในScope 1 + Scope 2 หรือหากองค์กรใดมีความประสงค์ที่จะชดเชยCarbon Neutral ทั้ง Scope 1 + Scope 2+ Scope 3 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและการนำไปใช้ประโยชน์ของแต่ละองค์กร

 

(ครั้งที่ 5-5/2564 วันที่ 26 สิงหาคม 2564)

การประเมินขนาดของแหล่งปล่อย (Size or Magnitude) สามารถประเมินได้ 2 วิธี ดังนี้

          1. ใช้วิธีการคำนวณ โดยใช้ข้อมูลจริงขององค์กรทำการประเมิน

          2.ใช้วิธีประมาณการ โดยอ้างอิงจากข้อกำหนดต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือได้ เช่น Sector Guidance เป็นต้น

การกำหนด Materiality ใน Scope 3 ควรจะประเมินหลังจากที่ได้มีการชี้แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกพร้อมทำการคัดเลือก Category ที่มีนัยสำคัญแล้วถึงจะกำหนด Materiality ใน Scope 3 ได้ และต้องไม่เกิน 5% (Materiality ไม่นับรวมใน scope 1 และ scope 2)

การประเมินความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของแต่ละ Category สามารถตัด Category ที่มีค่าความไม่แน่นอนสูงออกได้หรือไม่  

มติที่ประชุม : Category ที่มีค่าความไม่แน่นอนสูง คือ Cat.2 Cat.10 Cat.12 สามารถตัดออกได้ และควรชี้แจงเหตุผลอย่างสมเหตุสมผล

 

(ครั้งที่ 1-1/2565 วันที่ 24 มกราคม 2565)

การใช้ค่า GWP ของ CH4 Fossil                  

ตามข้อกำหนดในIPCC (AR5) ระบุให้ใช้ค่าGWP CH4สำหรับการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ได้จากฟอสซิล (Fossil Fuel) = 30 kgCO2e / kgCH4เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิลให้ใช้ค่าGWP CH4 = 28 kgCO2e / kgCH4คงเดิม                

มติที่ประชุม : รับทราบและให้เริ่มใช้ค่าGWP CH4 Fossil สำหรับการประชุมพิจารณาขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ครั้งที่3/2565 หรือวันที่ประชุมรับรอง/ประกาศผลวันที่ 26 มีนาคม2565

อ่าน

0

คะแนน

แก้ไขล่าสุด

15/06/2565

แนวทางการดำเนินงานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามมติที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ ระหว่างปี ปี 57-60

แนวทางการดำเนินงานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามมติที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการฯ ระหว่างปี ปี 57-60

1. การคำนวณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร สำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่มีกระบวนการปรับปรุงคุณภาพโดยการดึงก๊าซ CO2 ออกจากก๊าซธรรมชาติโดยตรงในกระบวนการผลิต (ไม่มีการเผาไหม้) จะต้องคิดรวมปริมาณก๊าซ CO2 ที่ถูกดึงออกและปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศดังกล่าวด้วย (ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 24 เมษายน 2557)

2. ในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ต้องใช้ค่า Emission Factor ของไฟฟ้าและไอน้ำที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined- Cycle Power Plant)  หรือโรงไฟฟ้าที่ผลิตทั้งไฟฟ้าและไอน้ำ (Cogeneration Power Plant) แบบ Cradle to Gate เท่านั้น ไม่สามารถใช้ค่า Emission Factor ของไฟฟ้าและไอน้ำที่ใช้ในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ได้ เนื่องจาก ค่า emission factor ที่ใช้ในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร แบบ Gate to Gate ซึ่งคิดรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่นนอกเหนือจากกระบวนการผลิตที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปด้วย และไม่ได้คิดรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการได้มาของเชื้อเพลิง (ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 24 เมษายน 2557 และ ครั้งที่ 3/2557 วันที่ 3 มิถุนายน 2557)

3. ให้ใช้ค่า Emission Factor ของการผลิตไฟฟ้าที่คำนวณแบบ Gate to Gate ในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 24 เมษายน 2557 และ ครั้งที่ 3/2557 วันที่ 3 มิถุนายน 2557)

4. ในกรณีที่ซื้อไฟฟ้ามาจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่เป็น Supplier รายอื่นซึ่งไม่ใช่ไฟฟ้าแบบ Grid Mix จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้ใช้ค่า Emission Factor ของไฟฟ้า ในปีที่เก็บข้อมูลจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่เป็น Supplier ที่องค์กรจัดซื้อ ทั้งนี้หากไม่มีค่า Emission Factor ไฟฟ้าในปีที่เก็บข้อมูล กำหนดให้สามารถใช้ค่า Emission Factor ไฟฟ้า ซึ่งเป็นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลดังกล่าว ย้อนหลังได้ไม่เกิน 3 ปี โดยต้องตรวจสอบเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตให้สอดคล้องกับค่า Emission Factor ที่นำมาใช้ด้วย  ทั้งนี้หากตรวจสอบและเชื่อได้ว่า ผุ้รายงานไม่สามารถขอข้อมูลค่า Emission Factor จาก ผู้ผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็น Supplier เพื่อนำค่าดังกล่าวมาใช้คำนวณได้จริง กำหนดให้สามารถใช้ค่า Emission Factor อื่นซึ่งผ่านการตรวจสอบ (เช่น เทคโนโลยีการผลิตและเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นแบบเดียวกันกับที่ผลิตจริง เป็นต้น) แล้วพบว่า สามารถใช้เป็นค่าตัวแทนที่เหมาะสมแทนได้ (ครั้งที่ 4/2557 วันที่ 25 กรกฎาคม 2557 และ ครั้งที่ 5/2557 วันที่ 25 กันยายน 2557)

5. การคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ให้พิจารณาแยกตามรายเทคโนโลยี เช่น ในกรณีที่เป็นบริษัทแห่งเดียว มีระบบ Septic tank เพียงอย่างเดียว และใช้วิธีการประเมินตาม IPCC 2006 Vol 5 ให้กำหนดค่า Urbanization(U) = 1  และ Degree of utilization of treatment or discharge pathway or method for each income group (Ti,j ) = 1 (ครั้งที่ 5/2557 วันที่ 25 กันยายน 2557, ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 17 พฤษภาคม 2559, และ ครั้งที่ 4/2559 วันที่ 26 กรกฎาคม 2559)

6. การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากโรงบำบัดน้ำเสียประเภทน้ำกากส่า จากกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตสุรา ที่มีการใช้วิธีการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง หากมีการเผากากตะกอนบริเวณผิวหน้าของบ่อผึ่งเพื่อกำจัดกลิ่น และไม่สามารถเก็บข้อมูลปริมาณก๊าซมีเทนที่ถูกเผาไหม้จากกิจกรรมดังกล่าวได้ ให้คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนตามวิธีการคำนวณ Methane Emission from Industrial Wastewater in Section 6.2.3 ของ IPCC Guideline : Table 6.8 Default MCF Values for Industry Wastewater โดยใช้ค่า factor แบบ Anaerobic deep lagoon : Depth more than 2 metres แทนตามหลักอนุรักษ์นิยม (conservative) (ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 22 พฤษภาคม 2558)

7. การคำนวณการปล่อยก๊าซมีเทนจากการใช้ห้องน้ำของพนักงานในองค์กร สามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ

1) คำนวณตามค่า Design Specification ของ Septic Tank ที่องค์กรใช้

2) คำนวณตามวิธีที่กำหนดใน IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories ปี 2006 โดยพิจารณาจากค่า BOD ที่เข้าสู่ Septic tanks โดยค่า BOD อาจคำนวณจากปริมาณการใช้น้ำหรือจำนวนพนักงาน

ทั้งนี้ให้ใช้วิธีคำนวณในข้อที่ 1 ก่อน หากไม่มีข้อมูล ให้คำนวณตามข้อที่ 2 ได้

(ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 22 พฤษภาคม 2558)

8. ในกรณีที่โรงงานมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ภายในองค์กรจาก 2 แหล่ง โดยผสมกันก่อนนำเข้าสู่โรงงานเพื่อใช้งาน ผู้ผลิตสามารถคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ ตาม IPCC และ API ได้โดยใช้ค่า % Carbon Composition ของเชื้อเพลิงที่ได้จาก supplier ทั้งนี้ให้คำนวณแยกตามแหล่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติ โดยใช้ข้อมูลปริมาณเชื้อเพลิง (หน่วย scf หรือ ลบ.ม.) และค่า Heating Value จากแต่ละแหล่งที่มีการนำเข้ามาใช้ในโรงงาน (ครั้งที่ 4/2557 วันที่ 25 กรกฎาคม 2557)

9. การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของก๊าซธรรมชาติ หากจะใช้ค่า Emission Factor ของ อบก. ต้องใช้ค่าความร้อนที่เป็น Lower Heating Value (LHV) หรือ Net Calorific Value (NCV) แต่หากหลักฐานที่ใช้ตรวจ (เช่น บิลใบเสร็จ) ระบุค่าความร้อนเป็นค่า Higher Heating Value (HHV) สามารถคำนวณได้ 3 วิธี คือ

1) เปลี่ยนค่าความร้อน HHV ให้เป็น LHV โดยอาศัยข้อมูลจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือจากบริษัทฯ ที่จำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้ หรือใช้วิธีการแปลงค่าตาม API (American Petroleum Institute) ทั้งนี้เมื่อได้ค่าความร้อนเป็น LHV แล้ว สามารถใช้ค่า Emission Factor ของ อบก. ได้       

2) ใช้ข้อมูลค่าความร้อนที่เป็น HHV ตามเดิมแต่เปลี่ยนไปใช้ค่า Emission Factor สำหรับ HHV ที่มีการแสดงค่าอยู่ใน API

3) เปลี่ยนค่า Emission Factor ของ อบก. ให้เป็นค่า Emission Factor สำหรับค่าความร้อนที่เป็น HHV โดยอาศัยวิธีการของ API

(ครั้งที่ 5/2557 วันที่ 25 กันยายน 2557, ครั้งที่ 1/2558 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558  และ ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 27 มีนาคม 2558)

10. การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปริมาณการใช้น้ำมัน กรณีที่ใช้หลักฐานเป็นบันทึกจำนวนเงินที่โรงงานจ่ายค่าน้ำมันให้ มีวิธีการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังนี้

1) คำนวณเงินเป็นปริมาณน้ำมันโดยใช้ข้อมูลราคาน้ำมัน จาก กรมธุรกิจพลังงาน ทั้งนี้หากยืนยันว่ามีการเติมจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้ใช้ราคาน้ำมันจาก  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)                             

2) ราคาน้ำมันให้ใช้ราคาเฉลี่ยรายเดือน

3) การเทียบราคาของประเภทน้ำมัน

             - น้ำมันที่มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน/ก๊าซโซลีน ให้เทียบกับก๊าซโซฮอล 91 เป็นหลัก

             - น้ำมันที่มีส่วนของผสมน้ำมันดีเซลให้เทียบกับน้ำมันดีเซล เป็นหลัก

(ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 22 พฤษภาคม 2558)

11. การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้น้ำมันของรถยนต์ กรณีที่หลักฐานระบุข้อมูลกิจกรรมเป็นระยะทางที่รถวิ่ง ให้คำนวณจำนวนลิตร โดยใช้อัตราสิ้นเปลืองจากการเดินทางของรถประเภทต่างๆ ซึ่งอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันจากการเดินทางด้วยรถประเภทต่างๆ สามารถใช้ได้ 2 วิธี คือ

1) ใช้ข้อมูลอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขององค์กรเอง แต่ข้อมูลที่ใช้ต้องมีหลักฐานสอบทวนกลับได้ที่ชัดเจน

2) ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นขององค์กร ของ อบก.

(ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 17 พฤษภาคม 2559)

12. กรณีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง อาจมีทั้งกิจกรรมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงและใช้ล้างเครื่องจักร หากไม่สามารถแยกปริมาณตามประเภทของการใช้งานได้ ต้องพิจารณาถึงนัยสำคัญประกอบด้วย หากมีนัยสำคัญมาก ต้องหาวิธีในการประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ หากมีนัยสำคัญน้อย อาจพิจารณาแบบ Worst Case Scenarios (โดยนำกิจกรรมที่มีค่า Emission Factor ที่สูงที่สุดมาเป็นตัวแทน) (ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 และ ครั้งที่ 4/2559 วันที่ 26 กรกฎาคม 2559)

13. สารทำความเย็นประเภท R-22 เป็นสารทำความเย็นที่อยู่ภายใต้พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ซึ่งหากมีการเปลี่ยนเป็นสารทำความเย็นชนิดอื่น อาจจะส่งผลต่อภาวะโลกร้อนในอนาคต ทั้งนี้แนวทางการจัดทำรายงานสามารถกระทำได้ 2 วิธี ดังนี้        

1) พิจารณาว่าจะเลือกประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้สาร R-22 ก็ได้ หรือจะไม่เลือกประเมินก็ได้ (ถ้าไม่ประเมินก็ไม่ต้องระบุลงในรายงาน)

2) ถ้าเลือกประเมิน ให้ยึดตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตามปกติ แต่ให้รายงานแยก

(ครั้งที่ 1/2558 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558  และ ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 27 มีนาคม 2558)

14. องค์กรต้องนับรวมกิจกรรมการเติมสารทำความเย็น ในกรณีที่เติมโดยผู้รับจ้างจากหน่วยงานภายนอกด้วย เนื่องจากเป็นการจ้างมาเติม ในส่วนของปริมาณที่รั่วไหลจากการดำเนินงานขององค์กร คำนวณจากปริมาณสารทำความเย็นที่เติม หากไม่ทราบปริมาณสารทำความเย็นที่เติมให้คำนวณจากเปอร์เซ็นต์การรั่วไหล ตามคู่มือแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ตารางแสดงค่าประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสารทำความเย็นของระบบทำความเย็นแบบต่างๆ เช่น

- ตู้เย็น ตู้แช่ ให้เลือกเปอร์เซ็นต์การรั่วไหลแบบ Domestic Refrigeration

- เครื่องปรับอากาศ แบบ Spilt type ให้เลือกเปอร์เซ็นต์การรั่วไหลแบบ Residential and Commercial A/C including Heat Pumps เป็นต้น

(ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 17 พฤษภาคม 2559)

15. การตัดออก (Cut Off) ให้คำนวณหรือประมาณการค่าการปล่อยกาซเรือนกระจกทั้งหมดในทุกประเด็นก่อน (รวมถึงประเด็นที่ต้องการตัดทิ้ง) แล้วค่อยทำการตัดออก โดยปริมาณที่ตัดทิ้งต้องไม่เกิน ค่าความมีสาระสำคัญ (Material Threshold) ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 5 (ครั้งที่ 6/2556 วันที่ 23 สิงหาคม 2556 และ ครั้งที่ 5/2557 วันที่ 25 กันยายน 2557)

16. การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas (LPG)) จากกิจกรรมการปรุงอาหารของผู้ประกอบการร้านอาหารภายในโรงงาน กรณีองค์กรเป็นผู้รับผิดชอบค่า LPG ต้องนับรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากผู้ประกอบการร้านอาหารเป็นผู้รับผิดชอบค่า LPG เอง ไม่ต้องนับรวม (ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 และ ครั้งที่ 4/2559 วันที่ 26 กรกฎาคม 2559)

17. การคำนวนปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการนำน้ำเสียไปผลิต Biogas โดยมีบ่อพักน้ำเสียที่เป็นบ่อแบบมีฝาปิดหรือมีแผ่นพลาสติกคลุมในกระบวนการผลิต และมีท่อต่อระบายอากาศออกจากบ่อ บ่อดังกล่าวอาจมีโอกาสเกิดก๊าซมีเทน จึงให้คิดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น โดยสามารถคำนวณจากผลต่างระหว่าง COD ขาเข้ากับ COD ขาออกของบ่อบำบัด และคำนวณตามสูตรการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบบำบัดน้ำเสียของ IPCC 2006 Vol 5 Chapter 6 Wastewater Treatment and Discharge (ครั้งที่ 5/2558 วันที่ 3 กันยายน 2558)

18. เอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการทวนสอบ เพื่อขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ของ อบก. กำหนดให้ผู้ทวนสอบส่งเอกสารลำดับที่ 1, 9 และ 10 ให้ อบก. ตรวจสอบ สำหรับเอกสารลำดับที่ 2-8 ผู้ทวนสอบสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับตรวจสอบในกรณีที่มีการขอรับการรับรอง (accreditation) โดยเนื้อหาของเอกสารลำดับที่ 3, 4 และ 7 สามารถรวมกันได้ ทั้งนี้เอกสารลำดับที่ 7 ได้เพิ่มช่องลงนาม สำหรับผู้มีอำนาจขององค์กรผู้จัดทำรายงาน เพื่อลงนามรับทราบและยอมรับสิ่งที่ผู้ทวนสอบสรุปจากการเข้าทวนสอบ (ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 27 มีนาคม 2558 และ ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 22 พฤษภาคม 2558)

19. ในกรณีที่องค์กรใช้ระบบบัญชีรายการขององค์กร เช่น ระบบ System Application Program (SAP) มาเป็นหลักฐานสำหรับการทวนสอบข้อมูลกิจกรรม ให้องค์กรผู้จัดทำรายงานแสดง item ที่ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลกิจกรรมต่อผู้ทวนสอบ และพิสูจน์กับผู้ทวนสอบให้ได้ว่าระบบดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง ซึ่งหากพิสูจน์แล้วผู้ทวนสอบเห็นว่าระบบมีความน่าเชื่อถือและมีความถูกต้องอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทางองค์กรก็สามารถใช้ระบบดังกล่าวเป็นหลักฐานของข้อมูลกิจกรรมได้ (ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 และ ครั้งที่ 4/2558 ที่ 20 กรกฎาคม 2558)

20. ในกรณีที่ข้อมูลกิจกรรมขององค์กร มาจากข้อมูลที่ไม่ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือน้อย เช่น ข้อมูลน้ำมันเชื้อเพลิงขององค์กรที่มีการรายงานข้อมูลปริมาณน้ำมันที่มีการเบิกใช้จริง แต่วิธีการตรวจวัดไม่ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือน้อย เช่น เครื่องมือวัดที่ใช้วัดปริมาณไม่มีการสอบเทียบ มีการชั่งตวงวัดจากเครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน องค์กรสามารถรายงานผลข้อมูลปริมาณน้ำมันจากหลักฐานการชำระเงินการสั่งซื้อน้ำมันได้ หรือ นำข้อมูลทั้งสองแหล่งมาเทียบเคียงและพิสูจน์แล้ว พบว่า ปริมาณที่สั่งซื้อกับปริมาณการใช้งานจริงที่บันทึกไว้มีค่าแตกต่างกันไม่มาก สามารถอ้างอิงการใช้ข้อมูลแบบใดก็ได้  แต่หากในกรณีที่ข้อมูลทั้ง 2 แหล่งแตกต่างกันมาก องค์กรต้องอธิบายความแตกต่างได้และเลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด  (ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 17 พฤษภาคม 2559)

21. กำหนดให้จัดทำ Verification Sheet เพื่อใช้ขอขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ของ อบก. ตามรูปแบบที่ อบก. กำหนด เพื่อความสะดวกและครบถ้วน ในการทวนสอบ ทั้งนี้หากองค์กรใดมีการจัดทำ Verification Sheet ในรูปแบบที่แตกต่างแต่ผู้ทวนสอบ พิจารณาแล้วเห็นว่าครบถ้วนตามที่ อบก. กำหนด ก็สามารถใช้ในการทวนสอบเพื่อใช้ขอขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุต พริ้นท์ขององค์กรดังกล่าวได้ (ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 17 พฤษภาคม 2559)

22. กรณีการคำนวณ ในการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปริมาณ crude oil ที่หายไประหว่างการขนส่ง โดยคิดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต crude oil ส่วนที่หายไป สามารถคิดเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ หรือประเภทที่ 3 (Scope 3) ในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร Scope 3 ได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงหลักความมีนัยสำคัญต่อองค์กร และความต้องการขององค์กรในการบริหารจัดการในเรื่องนั้นๆ (ครั้งที่ 4/2559 วันที่ 26 กรกฎาคม 2559)

23. การประเมินการรั่วไหลและฟุ้งกระจายออกของก๊าซเรือนกระจก จากถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง IPCC guideline 2006: Vol.2 Chapter 4 Fugitive emission หัวข้อ 4.2 Fugitive emissions from oil and natural gas systems ในส่วนของแหล่งปล่อย IPCC code 1 B 2 a iii 5 Distribution of oil products ที่แสดงในตาราง4.2.5 พบว่าไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด ตามที่พิจารณาตาม CFO guideline มีเพียงสาร NMVOC ที่มีการฟุ้งกระจายออก แต่ไม่สามารถตรวจวัดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับ API Compendium 2009 ที่ถือว่าก๊าซ CO2 และ ก๊าซ CH4 มีปริมาณที่น้อยมากในเชื้อเพลิงเหลว ดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานว่าไม่มีการปล่อยก๊าซ CO2 และก๊าซ CH4 จากถังเก็บเชื้อเพลิง”                                                        อ้างอิง : API, 2009, Compendium of Greenhouse GasEmissions Estimation Methodologies forthe Oil and Natural Gas Industry: Section 5 - Process and vented emission estimation methods, American Petroleum Institute, p. 56.

24. แนวทางสำหรับการกรอกข้อมูล ในรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแบบฟอร์มของ อบก.

  • ลำดับของแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหัวข้อ 3.1.4 , 3.2.1-3.2.6 และ 4.1-4.3 ควรใส่หมายเลขเรียงลำดับให้เหมือนกัน ไม่สลับไปมา เพื่อง่ายต่อการทวนสอบข้อมูล
  • รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหัวข้อ 3.1.5 และ 3.2.8 มีความหมายเหมือนกัน ให้ตัดหัวข้อ 3.2.8 ออก
  • รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหัวข้อ 4.1 – 4.4 ตารางการกรอกข้อมูลช่องลักษณะข้อมูลที่ตรวจวัด” ควรใส่เป็นหน่วยของข้อมูลที่ตรวจวัด เช่น ลิตร,บาท หรือ กิโลกรัม  เป็นต้น
  • รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหัวข้อ 3.2.4 ตารางช่องกำลังการผลิต สามารถกรอกข้อมูลจำนวนและขนาดหม้อแปลง (kva) ได้ตามความเหมาะสม
  • แบบฟอร์มรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร สามารถปรับแก้ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ง่ายสำหรับการอ่านแต่ไม่ควรทำการปรับแก้มากเกินไป

25. เนื่องจากการกรอกข้อมูลในระบบ SAP อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ทั้งนี้ในการใช้ข้อมูลจากระบบ SAP เป็นหลักฐานอ้างอิงในขั้นตอนการทวนสอบ ผู้ทวนสอบต้องทำการตรวจสอบข้อมูลร่วมกับหลักฐานอื่น อาทิเช่น การสุ่มตรวจบิลใบเสร็จ/ใบเบิก เพื่อเป็นการยืนยันความความถูกต้อง พร้อมกันนี้ในการดึงข้อมูลควรให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและใช้งานอยู่เป็นประจำเป็นผู้ดำเนินการ

26. การประเมินการรั่วไหลของก๊าซ CH4 จากการใช้ห้องน้ำของพนักงาน (Septic Tank) โดยคำนวนจากจำนวนคน ทั้งนี้ในส่วนของพนักงานไม่ประจำหรือผู้รับเหมา ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ มีแนวทางในการพิจารณาดังนี้

          - ความมีนัยสำคัญของข้อมูล หากเป็นอุตสาหกรรมที่มีพนักงานไม่ประจำหรือผู้รับเหมาจำนวนมาก ต้องทำการคำนวณ

          - ในกรณีที่มีการเก็บข้อมูลจำนวนคนที่เข้ามาในแต่ละวัน เห็นควรต้องทำการคำนวณทั้งหมด  

          - ในกรณีห้างสรรพสินค้า หรือ โรงพยาบาลที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ไม่สามารถเก็บข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการได้ สามารถคำนวณโดยใช้ปริมาณการใช้น้ำขององค์กรนั้นๆ ร่วมกับค่า BOD Loading ของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ตามข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ 

อ่าน

4,224

คะแนน

แก้ไขล่าสุด

03/11/2560

ค่าใช้จ่ายสำหรับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแต่ละผลิตภัณฑ์

ค่าขึ้นทะเบียน 8,500 บาท ต่อ ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ อบก. ได้กำหนดราคาโปรโมชั่นพิเศษสำหรับการสมัครขึ้นทะเบียนจำนวนมากดังนี้ (ราคานี้ยังไม่ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

 

 

อ่าน

3,233

คะแนน

แก้ไขล่าสุด

17/11/2560

บริษัทที่สนใจจะจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ควรเลือกที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอกอย่างไร

ควรเลือกที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และมีประสบการณ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรืออยู่ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทั้งนี้ สามารถสืบค้นรายชื่อที่ปรึกษาได้จากทำเนียบที่ปรึกษา (http://thaicarbonlabel.tgo.or.th) อย่างไรก็ตาม อบก. ไม่ได้ให้การรับรองว่าบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าว สามารถจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ ได้ถูกต้องตรงตามแนวทางการประเมินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือสามารถปฏิบัติงานให้คำปรึกษาตรงตามที่บริษัทต้องการได้ เพียงแต่แสดงว่าบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าว มีประสบการณ์ในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางการประเมินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของ อบก. อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

อ่าน

3,126

คะแนน

แก้ไขล่าสุด

26/09/2558

การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ควรจะเลือกหน่วยวิเคราะห์แบบใด

การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ต้องคำนวณต่อหน่วยของการทำงาน (Functional unit) ของผลิตภัณฑ์เท่านั้น โดยการกำหนดหน้าที่และหน่วยการทำงานของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 14040 และ ISO 14044 และผลการประเมิน CFP ต้องอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยการทำงาน ยกเว้นกรณีผลิตภัณฑ์เกษตร หรือผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ยากจะคำนวณในรูป Functional unit ได้ จึงอนุโลมให้คำนวณต่อ Product unit หรือ Sale unit อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สินค้า B2C สามารถนำเสนอค่า CFP ในรูปแบบที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย จึงสามารถนำเสนอในรูปต่อ Product unit ได้ แต่ต้องกำกับด้วยค่า CFP ต่อ Functional unit ทุกครั้ง และต้องแสดงเหตุผลการเลือกใช้หน่วยผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พร้อมกับอธิบายถึงความสัมพันธ์ของหน่วยผลิตภัณฑ์กับหน่วยการทำงานด้วย ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จาก “แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ฉบับแก้ไขครั้งที่ 3”

อ่าน

4,014

คะแนน

แก้ไขล่าสุด

26/09/2558

ผู้ทวนสอบสามารถทวนสอบข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้หรือไม่

ได้ แต่ต้องเป็นคนละบริษัท คนละกลุ่มผลิตภัณฑ์ และต้องไม่มีชื่อผู้ทวนสอบอยู่ในกลุ่มที่ปรึกษาของบริษัทนั้นๆ

อ่าน

1,829

คะแนน

แก้ไขล่าสุด

26/09/2558

CopyRight © 2012 - 2023 Carbon Label Project All Rights