กิจกรรมชดเชยคาร์บอนคืออะไร

หลักการและเหตุผล

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases: GHGs) จากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้พลังงาน การเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และนับวันปัญหาดังกล่าวก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น การส่งเสริมและพัฒนาตลาดคาร์บอนเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ โดยใช้มาตรการทางการตลาดเป็นแรงจูงใจ ซึ่งปัจจุบันองค์กรจากภาครัฐ และภาคเอกชนต่างให้ความสนใจในการมุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ (Low-carbon organization) หรือ ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ โดยหนทางหนึ่งที่เป็นการมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว สามารถทำได้โดยการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์ หรือที่เรียกว่า การทำกิจกรรมชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ กิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) เพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์นับได้เท่ากับศูนย์ หรือ ที่เรียกว่า Carbon Neutral ดังแสดงตัวอย่างในรูปที่ 1

 

รูปที่ 1 กิจกรรมชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าวถือว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาครวมลง ซึ่งหากในอนาคตผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ หรือภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมใจกันซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ก็จะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้มีผู้พัฒนาโครงการหรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีมากขึ้นด้วย อันจะทำให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้นเช่นกัน

วัตถุประสงค์

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ได้จัดทำโครงการกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting Program) โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างอุปสงค์คาร์บอนเครดิตจากโครงการ CDM และโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจในประเทศไทย อันจะช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมชดเชยคาร์บอน ของบุคคล องค์กร สินค้าและบริการ การจัดงานอีเว้นท์ ให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

 

ประเภทของการรับรอง

อบก. จะให้การรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอน 4 ประเภท ได้แก่
1. การรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอนของสินค้าและบริการ
หมายถึง การรับรองกิจกรรมชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาในระหว่างการผลิต การใช้งาน และการจำหน่ายสินค้า หรือ ในระหว่างการจัดหาและการใช้บริการ
2. การรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอนของการจัดประชุม หรือ งานอีเว้นท์
หมายถึง การรับรองกิจกรรมชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาในการจัดการประชุม การจัดคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา และอื่น ๆ
3. การรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอนขององค์กร
หมายถึง การรับรองกิจกรรมชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กร
4. การรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอนของกิจกรรมส่วนบุคคล
หมายถึง การรับรองกิจกรรมชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกในกิจวัตรประจำวันส่วนบุคคล

สำหรับเอกสารประกอบการเปิดบัญชีผู้ซื้อเครดิตมีดังต่อไปนี้

กรณีที่เป็นบุคคลทั่วไป
      1) หนังสือแจ้งความประสงค์จะเปิดบัญชีซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยระบุอีเมลที่ต้องการใช้งานในระบบ (ดาวน์โหลด)
      2) สำเนาบัตรประชาชน


      กรณีที่เป็นนิติบุคคล
      1) หนังสือแจ้งความประสงค์จะเปิดบัญชีซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยระบุอีเมลที่ต้องการใช้งานในระบบ (ดาวน์โหลด)
      2) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ (ผู้ใช้งานระบบ)
      3) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ
      4) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ
      5) หนังวือรับรองการทำงาน ออกให้โดยบริษัท


      กรณีที่เป็นหน่วยงานราชการองค์กรของรัฐบาลรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
      1) หนังสือแจ้งความประสงค์จะเปิดบัญชีซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยระบุอีเมลที่ต้องการใช้งานในระบบ (ดาวน์โหลด)
      2) ชื่อ ที่อยู่ และสำเนาพระราชบัญญัติกฎหมาย หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงการจัดตั้งหน่วยงาน
      3) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ (ผู้ใช้งานระบบ)
      4) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ
      5) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ

 

หมายเหตุ : ในกรณีที่บุคคลทั่วไป นิติบุคคล หรือ หน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ มีความประสงค์จะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบของ อบก. เป็นผู้แทนในการดำเนินการธุรกรรมในระบบ T-VER Registry ให้จัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงที่ระบุให้อบก.เป็นผู้ดำเนินการแทน แนบพร้อมกับเอกสารเพื่อขอเปิดบัญชี


สามารถส่งรายละเอียดการยื่นขอสมัคร ติดต่อสอบถามรายละเอียดการเปิดบัญชีคาร์บอนเครดิต ได้ที่:

คุณวรารัตน์ ชะอุ่มเครือ (นายทะเบียนสำหรับระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิต)
โทรศัพท์: 0-2141-9837
อีเมล: wararat.c@tgo.or.th

-เรื่องข้อมูลการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนอื่นๆ กรุณาติดต่อ คุณธาดา 0811323980 สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ

 

 

 

CopyRight © 2012 - 2023 Carbon Label Project All Rights