FAQ

FAQ All 6 entries

Read

0

Score

Last Update

15/06/2565

Read

4,224

Score

Last Update

03/11/2560

ค่าใช้จ่ายสำหรับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแต่ละผลิตภัณฑ์

ค่าขึ้นทะเบียน 8,500 บาท ต่อ ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้
- หากผลิตภัณฑ์ต่างสี และต่างขนาด จะถือว่าเป็น “ผลิตภัณฑ์คล้ายคลึง” กัน

คิดค่าใช้จ่ายรวม 8,500 บาท (บรรจุภัณฑ์ใช้วัสดุประเภทเดียวกัน)
- ถ้าผลิตภัณฑ์มีวัตถุดิบหลักเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะสาร Additives คิด

ค่าใช้จ่ายผลิตภัณฑ์แรก 8,500 บาท ส่วนผลิตภัณฑ์ต่อไปคิด 3,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะทำงานฯ พิจารณาอีกครั้ง หลังจากได้รับข้อมูลผลการคำนวณ

Read

3,233

Score

Last Update

17/11/2560

บริษัทที่สนใจจะจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ควรเลือกที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอกอย่างไร

ควรเลือกที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการประเมินวัฏจักรชีวิตของ ผลิตภัณฑ์ และมีประสบการณ์การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรืออยู่ ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทั้งนี้ สามารถสืบค้นรายชื่อที่ปรึกษาได้จากทำเนียบที่ปรึกษา (http://thaicarbonlabel.tgo.or.th) อย่างไรก็ตาม อบก. ไม่ได้ให้การรับรองว่าบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าว สามารถจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ ได้ถูกต้องตรงตามแนวทางการประเมินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือสามารถปฏิบัติงานให้คำปรึกษาตรงตามที่บริษัทต้องการได้ เพียงแต่แสดงว่าบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าว มีประสบการณ์ในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางการประเมินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของ อบก. อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

Read

3,126

Score

Last Update

26/09/2558

การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ควรจะเลือกหน่วยวิเคราะห์แบบใด

การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ต้องคำนวณต่อหน่วยของการทำงาน (Functional unit) ของผลิตภัณฑ์เท่านั้น โดยการกำหนดหน้าที่และหน่วยการทำงานของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 14040 และ ISO 14044 และผลการประเมิน CFP ต้องอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยการทำงาน ยกเว้นกรณีผลิตภัณฑ์เกษตร หรือผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ยากจะคำนวณในรูป Functional unit ได้ จึงอนุโลมให้คำนวณต่อ Product unit หรือ Sale unit อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สินค้า B2C สามารถนำเสนอค่า CFP ในรูปแบบที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย จึงสามารถนำเสนอในรูปต่อ Product unit ได้ แต่ต้องกำกับด้วยค่า CFP ต่อ Functional unit ทุกครั้ง และต้องแสดงเหตุผลการเลือกใช้หน่วยผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พร้อมกับอธิบายถึงความสัมพันธ์ของหน่วยผลิตภัณฑ์กับหน่วยการทำงานด้วย ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จาก “แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ฉบับแก้ไขครั้งที่ 3”

Read

4,014

Score

Last Update

26/09/2558

ผู้ทวนสอบสามารถทวนสอบข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้หรือไม่

ได้ แต่ต้องเป็นคนละบริษัท คนละกลุ่มผลิตภัณฑ์ และต้องไม่มีชื่อผู้ทวนสอบอยู่ในกลุ่มที่ปรึกษาของบริษัทนั้นๆ

Read

1,829

Score

Last Update

26/09/2558

CopyRight © 2012 - 2023 Carbon Label Project All Rights