Article
คาร์บอนนิวทรัลอีเว้นท์…อีเว้นท์สําหรับองค์กรรักษ์โลก…ลดโลกร้อน
Read
7,834
Score
Last Update
02/11/2564
คาร์บอนนิวทรัลอีเว้นท์…อีเว้นท์สําหรับองค์กรรักษ์โลก…ลดโลกร้อน
ทุกวันนี้ เราต่างคุ้นเคยดีกับงานอีเว้นท์ ต่างๆ ทั้งงานอีเว้นท์ของครอบครัว เช่น การจัดงานปีใหม่ งานวันเกิด จัดงาน ทําบุญบ้าน การจัดงานแต่งงาน และ งานอีเว้นท์ขององค์กรนั้น แทบทุก องค์กรล้วนมีการจัดงานอีเว้นท์กันอยู่ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดเลี้ยง ประจําปี การประชุมอบรมสัมมนา การ เปิดตัวสินค้า เป็นต้น สําหรับอีเว้นท์ ระดับองค์กรส่วนใหญ่มักเป็นอีเว้นท์เชิง ธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ การจัดประชุม (Meeting) การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive) การประชุมนานาชาติ (Convention) การจัดแสดงสินค้าหรือนิทรรศการ (Exhibition) หรือที่ รู้จักกันดีในนามของอุตสาหกรรมไมซ์ MICE (Meeting, Incentive, Convention, และ Exhibition) ซึ่ง ปัจจุบันได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูง มีความสําคัญต่อการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศ กระแสโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทําให้สังคมโลกหันมาสนใจและตระหนักถึงภัยพิบัติที่ เกิดขึ้น ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุ ของภาวะโลกร้อน ประชาคมโลกได้เห็นความสําคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ทําให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหา โลกร้อนภายใต้แนวคิด “สังคมคาร์บอนต่ํา” หรือที่เรียกกันว่า “Low carbon society ซึ่งการจัดงาน อีเว้นท์ก็เป็นกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งส่งผลทําให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน
รู้จัก “อีเว้นท์ลดโลกร้อน”
องค์การบริหารจัดการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) หรือ อบก. ในฐานะองค์กรส่งเสริมสนับสนุนให้ ภาคส่วนต่างๆ ดําเนินกิจกรรมด้วยความใส่ใจต่อผลกระทบ ต่อโลกร้อน เห็นว่าการจัดงานอีเว้นท์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของการ สร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน จึงได้เชิญชวนให้ภาคส่วน ต่างๆ จัดงานอีเว้นท์ที่รับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน โดยการจัดหาคาร์บอน เครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยมา ชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมในการจัดงานอีเว้นท์เพื่อทําให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากงานนับได้เท่ากับศูนย์ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนนิวทรัล (Carbon Neutral) ซึ่งสามารถขอการรับรองจาก อบก. ได้โดยเรียกว่าเป็นการจัดงานคาร์บอนนิวทรัล อีเว้นท์ (Carbon Neutral Event) หรืองานปลอดคาร์บอนนั่นเอง
คํานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของงานอีเว้นท์ได้อย่างไร??
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ประเภท 1 เป็นการปล่อยก๊าซเรือน กระจกทางตรง ได้แก่ การใช้ เชื้อเพลิงและมีการเผาไหม้
ประเภท 2 เป็นการปล่อยก๊าซเรือน กระจกทางอ้อม ได้แก่ การใช้ไฟฟ้า ในการจัดเตรียมงานและช่วงจัดงาน
ประเภท 3 เป็นการปล่อยก๊าซเรือน กระจกทางอ้อมอื่นๆ ได้แก่ การ เดินทางของผู้เข้าร่วมงาน จํานวนคืนการพักค้าง ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น
ใครทําการชดเชยคาร์บอนของงานอีเว้นท์แล้วบ้าง?
อบก. ได้สนับสนุนให้การจัดงานอีเว้นท์ต่างๆ สามารถช่วยลดโลกร้อนได้ด้วยการทํากิจกรรมชดเชย ผลการ ดําเนินงานพบว่ามีอีเว้นท์ที่ชดเชยการปล่อยก๊าซเอนกระจกของงานอีเว้นท์แล้ว 92 งาน ถือเป็นการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9,754 ตัน ฉะนั้นหากภาคธุรกิจหรือภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สายจัดอีเว้นท์และด้านอื่นๆ ร่วมใจกันคํานวณการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วได้จัดหาคาร์บอนเครดิต จากโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกมาชดเชย ก็จะเป็นแรงจูงใจสําคัญที่ทําให้มีผู้พัฒนาโครงการ หรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ด้วย อันจะทําให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือน กระจกได้มากเช่นกัน
ข่าวดี !!
องค์กรใดที่สนใจจัดทําคาร์บอนนิวทรัล อบก. มีการสนับสนุนค่าที่ปรึกษาในการ คํานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีเว้นท์ให้ โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02 141 9829 ; phuangphan@tgo.or.th